ประวัติโดยย่อ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

17
May

ประวัติโดยย่อ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 57 ใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 กับเจ้าจอมมารดาชุ่ม ทรงเป็นต้นราชสกุล “ดิศกุล” ประสูติเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ.2405 ในพระบรมมหาราชวัง

พระองค์ทรงเริ่มเรียนหนังสือชั้นต้นในพระบรมมหาราชวัง และเรียนภาษาอังกฤษในโรงเรียนหลวง เมื่อพระชนม์ได้ 13 พรรษา ได้ทรงผนวชเป็นสามเณรที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม จากนั้นได้ทรงเข้าศึกษาที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก ได้รับพระราชทานยศเป็นนายร้อยตรีทหารมหาดเล็ก บังคับกองแตรวง พระชนมายุได้ 15 พรรษา การงานก้าวหน้ามาโดยตลอด จนได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อน พระอิสริยยศเป็น “สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ” เมื่อปี พ.ศ.2472

ในงานด้านการศึกษา พระองค์ทรงเริ่มงานจัดการศึกษาเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2425 โดยเปลี่ยน “โรงเรียนทหารมหาดเล็ก” เป็นโรงเรียนสำหรับพลเรือน “โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ” ทรงขยายการศึกษาโดยอาศัยวัดเป็นพื้นฐาน ส่งผลให้การศึกษาขยายออกไปอย่างกว้างขวาง ทรงก่อตั้ง “โรงเรียนฝึกหัดข้าราชการพลเรือน” ในปี 2442 ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนมหาดเล็ก” และ “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย ในที่สุด

ในด้านสาธารณสุข ทรงมีพระดำริริเริ่มให้มี “โอสถศาลา” สำหรับรับหน้าที่ผลิตยาแจกจ่ายให้ราษฎรในตำบลห่างไกล ปัจจุบันคือ “สถานีอนามัย” และทรงจัดตั้ง “ปาสตุรสภา” สถานที่ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งในปัจจุบันโอนไปอยู่ในสังกัดของ สถานเสาวภา สภากาชาดไทย

นอกจากนั้นยังทรงเป็นผู้วางรากฐานกิจการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และหอสมุดแห่งชาติ พระองค์ท่านได้ทรงพระนิพนธ์หนังสือ ตำราต่าง ๆ ด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี ไว้เป็นจำนวนมาก

กรมพระยาดำรงราชานุภาพสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2486 พระองค์ได้รับการยกย่องเป็น “บิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย” องค์การยูเนสโกได้ถวายสดุดีให้กรมพระยาดำรงราชานุภาพเป็น “บุคคลสำคัญของโลก” ท่านได้สร้างผลงานไว้จำนวนมาก ซึ่งเป็นมรดกทางปัญญาของคนไทยมาจนกระทั่งทุกวันนี้

เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2455 คณะรัฐมนตรีมีมติกำหนดให้ วันที่ 1 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของพระองค์ “วันดำรงราชานุภาพ” เพื่อน้อมนำให้อนุชนรุ่นหลังได้รำลึกถึงพระองค์ ผู้ทรงมีคุณูปการต่อแผ่นดินไทยเป็นอเนกอนันต์สืบไป

Leave a Reply