Category

บทความ

ประวัติโดยย่อ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 57 ใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 กับเจ้าจอมมารดาชุ่ม ทรงเป็นต้นราชสกุล “ดิศกุล” ประสูติเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ.2405 ในพระบรมมหาราชวัง พระองค์ทรงเริ่มเรียนหนังสือชั้นต้นในพระบรมมหาราชวัง และเรียนภาษาอังกฤษในโรงเรียนหลวง เมื่อพระชนม์ได้ 13 พรรษา ได้ทรงผนวชเป็นสามเณรที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม จากนั้นได้ทรงเข้าศึกษาที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก ได้รับพระราชทานยศเป็นนายร้อยตรีทหารมหาดเล็ก บังคับกองแตรวง...
Read More

1 ธันวาคม วันดำรงราชานุภาพ รำลึกถึงพระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย

วันดำรงราชานุภาพ ตรงกับวันที่ 1 ธันวาคม ของทุกปี เพื่อรำลึกถึงสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ บุคคลไทยพระองค์แรกที่ยูเนสโกยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ในฐานะพระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย คนไทยหลายคนรู้จักพระนามของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ แต่อาจยังไม่ทราบว่าพระองค์มีคุณูปการต่อประเทศไทยมากมายเพียงใด กระทั่งได้รับการยกย่องจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก เมื่อปี พ.ศ. 2505 ซึ่งนับเป็นบุคคลไทยพระองค์แรก และทรงได้รับการถวายพระนามเป็น “พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย” โดยกำหนดให้วันที่ 1 ธันวาคม ของทุกปี...
Read More

ความสัมพันธ์ของ ร.๕ กับกรมพระยาดำรงฯ

ในจำนวนเจ้านายแห่งราชวงศ์จักรีทั้งหมด ที่ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับเรื่องประวัติศาสตร์วรรณคดี โบราณคดี รัฐประศาสน์ด้วยกันแล้ว เชื่อว่าทุกคนจะต้องรำลึกถึงสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพก่อนผู้อื่น โดยที่พระองค์ทรงเป็นหลักสำคัญทั้งในวงงานราชการและศิลปวิทยาการของเมืองไทย ตลอดพระชนมายุอันยืนยาวของพระองค์นั้น ได้ทรงค้นคว้าเพื่อประโยชน์ของอนุชนชั้นหลังอย่างกว้างขวาง ทรงทำประโยชน์อันใหญ่ยิ่งให้แก่ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ทรงมีพระอุตสาหวิริยภาพอย่างน่าพิศวง พระองค์ทรงเป็น อัจฉริยบุรุษ อันแท้จริง พระนามได้แผ่กว้างบันลือไปทั่วโลก ในชั่วชีวิต 81 พรรษาของพระองค์….หรือในชั่ว 5 แผ่นดิน พระองค์ทรงงานทุกด้านรอบรู้และจัดเจน ในงานที่ทรงทำนั้นอย่างถ่องแท้ ทรงปฏิบัติโดยเที่ยงธรรมและเที่ยงตรง...
Read More

UNESCO ยกย่อง “กรมพระยาดำรงราชานุภาพ” ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก

“สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ” ทรงเป็นคนไทยพระองค์แรกที่ “ยูเนสโก” (UNESCO) หรือองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ประกาศยกย่องให้เป็น “บุคคลสำคัญของโลก” ในวันนี้ และทรงเป็น “บิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย” เนื่องด้วยผลงานที่ท่านได้รังสรรค์ไว้ขณะยังมีพระชนม์ชีพอยู่นั้นได้ตกเป็นมรดกทางปัญญาของคนไทยมาจนกระทั่งทุกวันนี้ ทั้งในส่วนของการศึกษา สาธารณสุข ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี ขอบคุณภาพจาก kanchanapisek.or.th งานด้านการศึกษา พระองค์ทรงเริ่มงานจัดการศึกษาเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2425 โดยเปลี่ยน “โรงเรียนทหารมหาดเล็ก” เป็นโรงเรียนสำหรับพลเรือน “โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ”...
Read More

งานด้านสาธารณสุข และศิลปวัฒนธรรม

ทรงรับภาระในการจัดการโรงเรียนแพทย์ต่อจาก พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ ทรงมีพระดำริริเริ่มให้มีโอสถศาลา สำหรับรับหน้าที่ผลิตยาแจกจ่ายให้ราษฎรในตำบลห่างไกล ซึ่ง ปัจจุบันคือ สถานีอนามัย และทรงจัดตั้งปาสตุรสภา สถานที่ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งในปัจจุบันโอนไปอยู่ในสังกัดของสถานเสาวภา สภากาชาดไทย นอกจากนี้พระองค์ยังทรงรับพระภารกิจด้านงานสรรพากร และงานอุตสาหกรรมโลหกิจ ซึ่งเป็นแนวทางพัฒนางานมาจนถึงปัจจุบันด้วย ทรงริเริ่มและวางรากฐานการดำเนินงานของกิจการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอสมุดแห่งชาติ และพระองค์ท่านก็ทรง อุทิศเวลา ทรงพระนิพนธ์หนังสือ ตำราต่าง ๆ ด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี อันเป็นมรดกทางปัญญาของชาวโลกมาจนกระทั่งทุกวันนี้

ประวัติด้านการปกครอง และการบริหารประเทศ

กิจการสำคัญยิ่งในการบริหารประเทศนั้น พระองค์ทรงมีบทบาทสำคัญยิ่งในการก่อตั้งและปฏิรูปการจัดระเบียบการปกครอง ภายในประเทศ และการบริหารราชการของกระทรวงมหาดไทยกล่าวคือ ๑. ทรงจัดการบังคับบัญชางานภายในกระทรวง ให้มีรูปแบบเป็นระบบราชการชัดเจนขึ้น มีลำดับขั้นการบังคับบัญชา มีการแบ่งงานและเลือกสรร ผู้มีความรู้ความสามารถเข้ารับราชการ โดยการจัดสอบคัดเลือกตลอดจนออกระเบียบวินัยต่าง ๆ เช่น เลิกประเพณีให้ข้าราชการทำงานอยู่ที่บ้าน กำหนดให้มีการประชุมข้าราชการทุกวัน กำหนดเวลาการทำงาน ตลอดจนจัดระเบียบส่ง ร่าง เขียน และเก็บหนังสือราชการ เป็นต้น ๒. ทรงจัดระบบการปกครองส่วนภูมิภาค ซึ่งเรียกว่า “ระบบเทศาภิบาล”...
Read More

ประวัติด้านการศึกษา

ถึงแม้ว่าพระองค์จะทรงปฏิบัติหน้าที่ทางการศึกษาอยู่ในช่วงระยะเวลาสั้นเพียงประมาณ ๓ ปี (พ.ศ. ๒๓๓๓ – ๒๓๓๕) แต่พระองค์ ทรงมีพระดำริริเริ่มเป็นเยี่ยมในพระกรณียกิจด้านนี้หลายประการ กล่าวคือ ๑. ทรงเริ่มงานจัดการศึกษาเป็นครั้งแรก เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนสภาพ “โรงเรียนทหารมหาดเล็ก” ซึ่งเป็นโรงเรียนฝึกสอนวิชาทหารให้แก่นายร้อย นายสิบ ในกรมทหารมหาดเล็ก มาเป็นโรงเรียนสำหรับพลเรือน มีชื่อเรียกว่า “โรงเรียนพระตำหนัก สวนกุหลาบ” และพระองค์ทรงดำรงตำแหน่งผู้จัดการโรงเรียน ๒. ในขณะที่ทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมธรรมการ...
Read More

พระประวัติสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ องค์ปฐมเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๕๗ ในพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าจอมมารดาชุ่ม ธิดาพระอัพภันตริกามาตย์ (ดิศ) ต้นสกุล”โรจนดิศ” เป็นเจ้าจอมมารดา ประสูติในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๐๕ พระบาท สมเด็จพระบรมชนกนาถ พระราชทานพระนามและพระพร ประกอบด้วยคาถาเป็นภาษาบาลีซึ่งมีคำแปลดังต่อไปนี้ ” สมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฏ พระจอมเกล้าเจ้าแผ่นดินสยาม ผู้บิดาตั้งนามกุมารบุตรที่เกิดแต่ชุ่มเล็กเป็นมารดานั้น และซึ่งคลอดในวัน...
Read More

พระราชานุสาวรีย์ วันดำรงราชานุภาพ เครื่องราชอิสริยาภรณ์

พระราชานุสาวรีย์ กระทรวงมหาดไทย ได้จัดสร้างพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในลักษณะประทับนั่ง บริเวณด้านหน้าศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย ถนนอัษฎางค์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ วันดำรงราชานุภาพ วันดำรงราชานุภาพ ตรงกับวันที่ 1 ธันวาคม ของทุกปี กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการระลึกถึงสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ตรงกับวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของพระองค์ สืบเนื่องจากการที่พระองค์เป็นบุคคลไทยพระองค์แรกที่ได้รับการยกย่องจากองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก เมื่อปี พ.ศ....
Read More

พระโอรสและพระธิดา

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นองค์ต้นราชสกุลดิศกุล มีหม่อม 11 คน ได้แก่ หม่อมเฉื่อย (สกุลเดิม ยมาภัย) หม่อมนวม (สกุลเดิม โรจนดิศ) หม่อมลำดวน (สกุลเดิม วสันตสิงห์) ธิดาหลวงอนุรักษ์ภูเบศร์ (สิงโต วสันตสิงห์) หม่อมแสง (สกุลเดิม ศตะรัตน์) ธิดาพระดำรงราชานุภาพ หม่อมเจิม (สกุลเดิม...
Read More